Winnie The Pooh Glitter

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562

Recording Diary 7 September 17, 2019 Time : 13.30 PM. - 17.30 PM.

Knowledge content received :: วันนี้เรียนรวม 2 ห้อง เพื่อมานำเสนอนวัตกรรมการศึกษาต่าง ๆ แรกเปลี่ยนสิ่งที่ไปศึกษามา


กลุ่มที่ 1 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope"  ไฮสโคปเริ่มต้นโดย ดร.เดวิส ไวคาร์ท (Dr. David Weikart) ไฮสโคปเป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อ และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยกลุ่มนี้แสดงบทบาทสมมติสอนในวิชาศิลปะสร้างสรรค์ นำหัวใจสำคัญของไฮสโคป 3 ประการมาใช้ คือ Plan คือการวางแผน / Do คือการลงมือทำ / Review คือทบทวน 
ประโยชน์ของการสอนแบบไฮสโคป
1. สอนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้อื่น
2. ลงมือทำงานตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นขั้นตอน เป็นระบบ
3. ฝึกสมาธิ วินัย การคิดอย่างมีความหมาย คิดเป็น แก้ปัญหาได้
4. เน้นการพัฒนาตามศักยภาพที่แท้จริงของเด็ก 


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ -บทบาทสมมติควรจะทำให้เหมือน มีอุปกรณ์ ทำให้เห็นของจริง
กลุ่มที่ 2 นำเสนอนวัตกรรม "ไฮสโคป High Scope" แสดงบทบาทสมมติ โดยมีอุปกรณ์เสมือนจริง และอธิบายแต่ละขั้นตอนตามแนวคิด "วงล้อแห่งการเรียนรู้" มีด้วยกัน 4 ประการ คือ
1. พื้นที่สื่อ การเก็บ หรือการจัดสิ่งแวดล้อม จัดพื้นที่ในห้องเรียนเป็น 5 ส่วน ดังนี้
     - พื้นที่ไว้ของส่วนตัวสำหรับเด็ก
     - พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย 
     - พื้นที่ตามมุม เช่น มุมนิทาน, มุมบล็อก, มุมศิลปะ และมุมบทบาทสมมติ 
     - พื้นที่ของครู 
     - พื้นที่ติดผลงานเด็ก เน้นย้ำว่า เราควรติดงานเด็กในระดับสายตาของเด็ก
2. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กเน้นปฏิสัมพันธ์ที่ดี เริ่มจากการไว้ใจ วางใจ ครูต้องสร้างความไว้ใจให้เด็ก การยิ้ม การเป็นมิตร การสบสายตา การพูด
3. กลยุทธ์ปฏิสัมพันธ์การกระทำ ส่งเสริม แก้ปัญหา หรือ กิจวัตรประจำวัน Plan / Do / Review
Plan (วางแผน) คือ วางแผน กลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย ไฮสโคปอยากให้เด็กเชื่อมั่นในตนโดยไม่เปลี่ยนแผน ครูต้องติดตามกำกับดูแล และที่สำคัญครูต้องต่อเติมภาษาของเด็กให้ดีด้วยการลงมือกระทำร่วมกับเด็ก
Do (ปฏิบัติ) ใช้เวลาในการปฏิบัติ 30 – 40 นาที  
Review (ทบทวน) สิ่งสำคัญคือเด็กได้นำเสนอความคิดว่า ตรงตามวางแผนไหม มีอุปสรรค์อะไร และยังมีการตั้งคำถามระหว่างเด็กกับเพื่อน ทำให้เด็กกล้าแสดงออก และแสดงความคิดเห็น
4. การประเมินจะประเมินจากคณะทำงาน การบันทึกประจำวัน การวางแผนกิจวัตรประจำวัน และผลงาน



คำถามจากเพื่อน ๆ  * ถ้าเป็นเด็กอนุบาลในชั้นอื่น ๆ จะจัดมุมต่าง ๆ เหมือนกันไหม
ตอบ ได้เหมือนกัน หรืออาจจะเพิ่มมุมเกี่ยวกับวิชาต่าง ๆ ให้เด็กได้เข้าไปหาความรู้
คำถามจากอาจารย์ * ถ้าเป็นห้องเรียนใหญ่ มีเด็กเยอะจะจัดการเรียนแบบไฮสโคปได้ไหม และจัดอย่างไร
ตอบ จากที่ได้ดูคลิปของโรงเรียนปลวกแดงสามารถจัดได้ และมีวิธีคืออธิบายให้เด็กเข้าใจ วางแผนทีละคนกับครูคนเดียว ในคลิปดัดแปลงมาใช้ไม้หนีบแทนกิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กหยิบมาหนีบที่เสื้อของตัวเองเพื่อจะได้รู้ว่าตัวเองทำกิจกรรมอะไร เมื่อทำเสร็จก็วางแผนใหม่ ใน 1 วันให้เด็กทำกิจกรรมอย่างน้อย 2 กิจกรรม
ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ -ทำแผ่นวางแผนให้ครบทั้งหมด 4 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมพื้นฐาน 3 และกิจกรรมพิเศษ 1 อีกอย่างคือควรมีแบบบันทึกของแป้งโดว์ 
**กิจกรรมฉีก ปะ ถ้าเป็นไปได้ควรให้เด็กวาดรูปเอง ไม่ควรมีแบบให้
กลุ่มที่ 3 นำเสนอนวัตกรรม "โปรเจคแอพโพส Project Approach" การเรียนแบบโปรเจค คือการเรียนรู้แบบลุ่มลึก ผู้คิดคือจอร์น ดิวอี้  โดยกลุ่มนี้แสดงบทบาทสมมติ เริ่มจาก
ระยะที่ 1
1. ถามเด็กว่าอย่างรู้เรื่องอะไร เด็ก ๆ ก็จะตอบแตกต่างกันไป อาจจะฟังเหตุผลว่าเพราะอะไรถึงอยากรู้เรื่องนั้น สุดท้ายแล้วจะฟังเสียงส่วนมาก เมื่อได้เรื่องแล้วเขียนสรุปว่าเด็ก ๆ สนใจเรื่องใด เพราะอะไร
2. ถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิม และให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมที่เด็กได้พูดไป อย่างเช่น วาดรูป ปั้นแป้งโดว์ ฯ
3. ให้เด็ก ๆ ตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่อยากรู้ในเรื่องนั้น ครูบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็ก ๆ พูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็ก ๆ จะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็ก ๆ บันทึกความคาดคะเนของเด็ก ๆ ไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง และนำไปสู่การออกแบบกิจกรรม
ระยะที่ 2 
ครูช่วยเด็ก ๆ วางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็ก ๆ สามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็ก ๆ สนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็ก ๆ ได้ มาให้ความรู้กับเด็ก ๆ
ระยะที่ 3 
แบ่งหน้าที่กันเพื่อจัดแสดงให้ผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ กิจกรรมต่าง ๆ 


ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ -ทำในแต่ระยะให้ชัดเจน วิธีการหาคำตอบต่าง ๆ 
กลุ่มที่ 4 นำเสนอนวัตกรรม "STEM" ได้อธิบายเอาไว้ว่า “สะเต็ม” หรือ “STEM” เป็นคำย่อจากภาษาอังกฤษของศาสตร์ 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology)  วิศวกรรมศาสตร์(Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  หมายถึงองค์ความรู้ วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกของความเป็นจริงที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตและการทำงาน โดยกลุ่มนี้ให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับ เรือบรรทุกสินค้า ในกิจกรรมจะเป็นการทำให้ดินน้ำมันลอยน้ำ *เพื่อให้เด็กคิดหาวิธี เมื่อทำได้แล้วให้วางเหรียญบนดินน้ำมัน วางมากดินน้ำมันก็จม เลยมีอุปกรณ์อีก 1 อย่างคือหลอด *เด็กก็จะหาวิธีแก้ไขเพื่อไม่ให้ดินน้ำมันจมได้อีก (ครูเข้าไปดู หรืออาจจะอำนวยความสะดวกให้กับเด็ก)



ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ -ควรมีอุปกรณ์หลากหลายให้เด็กได้เลือกในการแก้ปัญหา 

Teaching Techniques :: อาจารย์ให้นำเสนอด้วยวิธีที่แตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะได้ไม่ยึดติดกับการอ่าน Power Point จะทำให้น่าเบื่อ ไม่น่าฟัง

Apply :: ทำการนำเสนอออกมาให้ดี และน่าสนใจ เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เรียนรู้จากความจริง

Assessment :: 

     My self :: ช่วยเพื่อนทำกิจกรรม และตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอ พร้อมทั้งจดบันทึก
     Friend :: ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อน ๆ  และตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อน ๆ นำเสนอ
     Teacher :: อาจารย์ฟังทุกกลุ่ม และมีสรุปให้ในตอนท้าย และสิ่งที่ควรปรับแก้ เพื่อนำไปปรับปรุง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น